งานเทคโนโลยี บีบอัดข้อมูล Compression file

เทคโนโลยี บีบอัดข้อมูล Compression file

Best File compression Tools & Softwares for PC and Smartphones

 

บีบอัดข้อมูลคืออะไร

ขอยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้ เรามีไฟล์เอกสาร ซึ่งมีขนาด?5 MB ถ้าต้องการส่งผ่านอีเมล์อาจมีปัญหาไม่สามารถส่งได้ หรือไม่ก็ช้ามาก ถ้าเราลองใช้โปรแกรมบีบอัดข้อมูล หรือหลายๆ คนมักเรียกว่า Zip File (เพราะติดมาจากโปรแกรม WinZip) มาใช้และสามารถลดได้ถึง 1 MB จะดีกว่าไหม นอกจากนี้ ถ้าเรามีไฟล์หลายๆ ไฟล์ที่ต้องการส่งให้เพื่อน ถ้าจะ attached file ผ่านอีเมล ก็ไม่ค่อยสะดวก แต่ถ้าเราสามารถรวมไฟล์เป็นไฟล์เดียว แถมมีขนาดเล็กลงจะดีกว่าไหม

หลักการบีบอัดไฟล์คือ เราสามารถบีบอัดไฟล์ๆ เดียว หรือหลายๆไฟล์พร้อมกันได้ ผลลัพธ์ที่ได้จะได้ไฟล์มีนามสกุล .Zip (บางโปรแกรมบีบอัดไฟล์ สามารถเลือกได้ว่าจะบีบอัดไฟล์เป็นนามสกุลอะไร) และมีขนาดเล็กลง ไฟล์บางประเภทอาจบีบอัดให้มีขนาดเล็กลงได้มาก บางประเภทอาจบีบอัดได้เล็กน้อย เช่นไฟล์รูปภาพ .JPG เป็นต้น

ประวัติความเป็นมา

   ในปี พ.ศ. 2493 Bell Labsได้ยื่นจดสิทธิบัตรการมอดูเลตรหัสพัลส์ที่แตกต่างกัน (DPCM) Adaptive DPCM (ADPCM) ได้รับการแนะนำโดย P. Cummiskey, Nikil S. JayantและJames L. Flanaganที่Bell Labsในปี 1973 

  การเข้ารหัสการรับรู้ถูกใช้เป็นครั้งแรกสำหรับการบีบอัดการเข้ารหัสคำพูดโดยใช้การเข้ารหัสเชิงคาดการณ์เชิงเส้น (LPC) แนวคิดเริ่มต้นสำหรับ LPC ย้อนกลับไปถึงผลงานของFumitada Itakura ( Nagoya University ) และ Shuzo Saito ( Nippon Telegraph and Telephone ) ในปี 1966 ในช่วงปี 1970 Bishnu  S. AtalและManfred R. Schroederที่Bell Labsพัฒนารูปแบบของ LPC ที่เรียกว่าadaptive Predictive coding (APC) ซึ่งเป็นอัลกอริธึมการเข้ารหัสแบบรับรู้ที่ใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติการกำบังของหูของมนุษย์ตามมาในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ด้วยอัลกอริทึมการทำนายเชิงเส้นแบบตื่นเต้นด้วยรหัส (CELP) ซึ่งได้อัตราส่วนการบีบอัดที่สำคัญสำหรับ ได้เวลา. การรับรู้การเข้ารหัสจะใช้รูปแบบการบีบอัดสัญญาณเสียงที่ทันสมัยเช่นMP3 และAAC 


เทคโนโลยีและการพัฒนาการบีบอัด

   สิ่งที่สำคัญตามมาคือ "มาตรฐานของเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล" อาทิเช่นเทคนิคการบีบอัดข้อมูลวิดีโอเป็น MPEG การบีบอัดข้อมูลเสียงเป็น MIDI และการบีบอัดเสียงพูดด้วย ADPCM หรือแม้แต่รูปภาพก็บีบอัดเป็น GIF หรือ JPEG เป็นต้น การบีบอัดทำให้รับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น และยังใช้ที่เก็บความจุลดลง

   หากพิจารณาดูว่าถ้ามีข่าวสารแบบมิลติมีเดียอยู่มากมายวิ่งอยู่บนเครือข่าย เช่น การให้บริการข่าวหนังสือพิมพ์ การให้บริการคาราโอเกะ การเรียนการสอนทางไกล การบริการทางการแพทย์ การซื้อขายของบนเครือข่าย ฯลฯ ข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายจะมีความหนาแน่นเพียงไรสายสื่อสารข้อมูลที่วิ่งบนเครือข่ายคงต้องการระบบสื่อสารข้อมูลที่มีแถบกว้างมาก (Hing Bandwidth) และต้องการโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมโยงที่รองรับการให้บริการต่าง ๆ การส่งสายสื่อสารข้อมูลไปให้ผู้ใช้จำนวนมากบนเครือข่าย อาจจะทำให้เกิดปัญหาการใช้สายสื่อสารข้อมูลจำนวนมาก ปัญหานี้สามารถลดได้ด้วยการส่งสายสื่อสารข้อมูลเพียงสายเดียวในเครือข่าย อุปกรณ์สวิตชิ่งจะส่งกระจายไปหลาย ๆ ที่ตามที่ผู้ใช้ต้องการได้เองลักษณะการส่งกระจายบนเครือข่ายแบบนี้เรียกว่า "Multicast Backbone (MBONE)" แนวโน้มการขยายตัวของโลกในเครือข่ายหรือไซเบอร์สเปซ มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงขอฝากไว้กับการพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายให้รองรับการประยุกต์ใช้งานมัลติมีเดีย


ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้บีบอัด

   1.7-Zip

   2.TuGZip

   3.QuickZip

   4.FilZip

   5.ZipGenius

   6.PeaZip

   7.WinZip

   8.WinRAR


วิธีการใช้งานอย่างละเอียด

winrar.jpg

วิธีบีบอัดไฟล์

1. เริ่มต้นให้เราทำการเปิดโปรแกรมขึ้นมา จากนั้นเลือกไปที่ ‘Add’ ที่อยู่บริเวณมุมบนด้านซ้ายมือของหน้าต่างโปรแกรมwinrar1

 

2. จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง ‘Archive name and parameters’ ขึ้นมา ซึ่งจะเป็นการตั้งค่าก่อนที่จะทำการบีบอัดไฟล์ โดยมีรายละเอียดหลักๆ ดังนี้

  • Archive name: ชื่อไฟล์ที่เราต้องการจะบันทึก
  • Archive format: ประเภทของไฟล์ที่เราต้องการบันทึก
  • Compression method: วิธีการบีบอัดไฟล์ 
  • Dictionary size: ขนาดของไฟล์สูงสุด
  • Split to volumes, size: กรณีเราต้องการแบ่งไฟล์ออกเป็นไฟล์ย่อย
  • Set password… : ตั้งค่าการเข้ารหัสของไฟล์ (กรณีที่เราต้องการความปลอดภัยหรือความเป็นส่วนตัว)
 

winrar2

เมื่อเราตั้งค่ารูปแบบไฟล์, ขนาด ฯลฯ ตามที่เราต้องการแล้ว ให้เลือกไปที่ ‘Files’ ซึ่งอยู่ที่แถบเมนูหลักด้านบน >> จะเป็นในส่วนของไฟล์ที่เราต้องการจะบีบอัดลงไป >> คลิก ‘Append…’ เพื่อเลือกไฟล์ที่ต้องการwinrar3

เมื่อได้ไฟล์ที่เราต้องการบีบอัดเรียบร้อยแล้ว >> คลิก OK เพียงเท่านี้ก็จะเป็นการบีบอัดไฟล์ที่เราต้องการแล้ว

อีกวิธีหนึ่งในการบีบอัดไฟล์ก็คือ การคลิกขวาที่โฟลเดอร์ หรือ ไฟล์ ที่เราต้องการบีบอัด จากนั้นเลือก ‘Add to Archive’ >> ก็จะปรากฏหน้าต่าง Archive name and parameters’ >> สามารถทำตามขั้นตอนก่อนหน้าได้เลย

วิธี Extract Files (แตกไฟล์)

ในการแตกไฟล์ที่ถูกบีบอัดนั้นสามารถทำได้ง่าย ๆ ซึ่งวิธีการนั้นก็จะมี 2 แบบหลัก ๆ เช่นเดียวกับขั้นตอนในการบีบอัดไฟล์ โดยสามารถทำได้ผ่านโปรแกรม หรือจะคลิกขวาแล้วเลือกแตกไฟล์ได้เลย ในส่วนของขั้นตอนนั้นจะมีดังนี้winrar4

วิธีการแตกไฟล์ผ่านโปรแกรม 

1. เริ่มต้นให้เราเปิดโปรแกรมขึ้นมา >> ในหน้าต่างของโปรแกรมจะมีรายละเอียดของไฟล์ต่าง ๆ อยู่ ให้เราเลือกไฟล์ .RAR หรือ .ZIP หรืออื่น ๆ ที่เราต้องการแตกไฟล์ จากนั้นให้เลือกที่ ‘Extract to’ ซึ่งอยู่ในแถบเมนูหลักด้านบน

winrar5

จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง ‘Extraction path and options’ ขึ้นมา >> ให้เราเลือกพื้นที่ที่ต้องการจะแตกไฟล์ซึ่งอยู่ทางด้านขวามือ >> เมื่อเลือกได้แล้วให้กด OK >> จากนั้นโปรแกรมจะทำการแตกไฟล์แล้วไฟล์ก็จะไปอยู่ในพื้นที่ที่เราเลือก

winrar6

วิธีแตกไฟล์อีกวิธีหนึ่งคือการคลิกขวาที่ไฟล์ที่เราต้องการแตก โดยมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

คลิกขวาที่ไฟล์บีบอัด จากนั้นเลือก (ได้ตามต้องการ) 

  • Extract Files… : จะเป็นการเข้าสู่หน้าต่าง ‘Extraction path and options’ ซึ่งเราสามารถเลือกพื้นที่ได้ตามต้องการ
  • Extract Here: จะเป็นการแตกไฟล์ทันที ซึ่งไฟล์ที่ได้จะอยู่ในโฟลเดอร์หรือพื้นที่เดียวกับไฟล์ที่ถูกบีบอัด
  • Extract to Desktop\ : จะเป็นการแตกไฟล์โดยไฟล์ที่ได้จะอยู่ในหน้า Desktop ของเรา
winrar7

จากนั้นโปรแกรมจะทำการแตกไฟล์ที่ถูกบีบอัด โดยความเร็วในการแตกไฟล์นั้นจะขึ้นอยู่กับขนาดของไฟล์ หากไฟล์มีขนาดใหญ่ก็จะแตกไฟล์ได้ช้า หากไฟล์มีขนาดเล็กการแตกไฟล์ก็จะสามารถทำได้รวดเร็ว และเมื่อทำการแตกไฟล์แล้วเราก็จะสามารถเข้าถึงและใช้งานไฟล์นั้น ๆ ได้ทันที


   ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำบทความนี้

1.รู้จักความเป็นมาของประวัติเทคโนโลยี บีบอัดข้อมูล ที่ไม่เคยรู้จัก

2.ได้รู้วิธีการบีบอัดไฟล์ และแตกไฟล์แบบละเอียด

3.ช่วยให้ส่งไฟล์จากไฟล์ที่มีขนาดใหญ่เหลือขนาดเล็ก ให้ส่งได้สะดวกรวดเร็ว


อ้างอิง

https://it-guides.com/freeware/utility-freeware/free-compress-program

https://notebookspec.com/web/552175-how-to-use-winrar

You have no rights to post comments