ส่งงานเทคโนโลยี บีบอัดข้อมูล Compression file

เทคโนโลยี บีบอัดข้อมูล Compression file

บีบอัด

ประวัติความเป็นมา

   ในปี พ.ศ. 2493 Bell Labsได้ยื่นจดสิทธิบัตรการมอดูเลตรหัสพัลส์ที่แตกต่างกัน (DPCM) Adaptive DPCM (ADPCM) ได้รับการแนะนำโดย P. Cummiskey, Nikil S. JayantและJames L. Flanaganที่Bell Labsในปี 1973 

  การเข้ารหัสการรับรู้ถูกใช้เป็นครั้งแรกสำหรับการบีบอัดการเข้ารหัสคำพูดโดยใช้การเข้ารหัสเชิงคาดการณ์เชิงเส้น (LPC) แนวคิดเริ่มต้นสำหรับ LPC ย้อนกลับไปถึงผลงานของFumitada Itakura ( Nagoya University ) และ Shuzo Saito ( Nippon Telegraph and Telephone ) ในปี 1966 ในช่วงปี 1970 Bishnu  S. AtalและManfred R. Schroederที่Bell Labsพัฒนารูปแบบของ LPC ที่เรียกว่าadaptive Predictive coding (APC) ซึ่งเป็นอัลกอริธึมการเข้ารหัสแบบรับรู้ที่ใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติการกำบังของหูของมนุษย์ตามมาในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ด้วยอัลกอริทึมการทำนายเชิงเส้นแบบตื่นเต้นด้วยรหัส (CELP) ซึ่งได้อัตราส่วนการบีบอัดที่สำคัญสำหรับ ได้เวลา. การรับรู้การเข้ารหัสจะใช้รูปแบบการบีบอัดสัญญาณเสียงที่ทันสมัยเช่นMP3 และAAC 


 

เทคโนโลยีและการพัฒนาการบีบอัด

   สิ่งที่สำคัญตามมาคือ "มาตรฐานของเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล" อาทิเช่นเทคนิคการบีบอัดข้อมูลวิดีโอเป็น MPEG การบีบอัดข้อมูลเสียงเป็น MIDI และการบีบอัดเสียงพูดด้วย ADPCM หรือแม้แต่รูปภาพก็บีบอัดเป็น GIF หรือ JPEG เป็นต้น การบีบอัดทำให้รับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น และยังใช้ที่เก็บความจุลดลง

   หากพิจารณาดูว่าถ้ามีข่าวสารแบบมิลติมีเดียอยู่มากมายวิ่งอยู่บนเครือข่าย เช่น การให้บริการข่าวหนังสือพิมพ์ การให้บริการคาราโอเกะ การเรียนการสอนทางไกล การบริการทางการแพทย์ การซื้อขายของบนเครือข่าย ฯลฯ ข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายจะมีความหนาแน่นเพียงไรสายสื่อสารข้อมูลที่วิ่งบนเครือข่ายคงต้องการระบบสื่อสารข้อมูลที่มีแถบกว้างมาก (Hing Bandwidth) และต้องการโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมโยงที่รองรับการให้บริการต่าง ๆ การส่งสายสื่อสารข้อมูลไปให้ผู้ใช้จำนวนมากบนเครือข่าย อาจจะทำให้เกิดปัญหาการใช้สายสื่อสารข้อมูลจำนวนมาก ปัญหานี้สามารถลดได้ด้วยการส่งสายสื่อสารข้อมูลเพียงสายเดียวในเครือข่าย อุปกรณ์สวิตชิ่งจะส่งกระจายไปหลาย ๆ ที่ตามที่ผู้ใช้ต้องการได้เองลักษณะการส่งกระจายบนเครือข่ายแบบนี้เรียกว่า "Multicast Backbone (MBONE)" แนวโน้มการขยายตัวของโลกในเครือข่ายหรือไซเบอร์สเปซ มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงขอฝากไว้กับการพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายให้รองรับการประยุกต์ใช้งานมัลติมีเดีย


ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้บีบอัด

   1.7-Zip

   2.TuGZip

   3.QuickZip

   4.FilZip

   5.ZipGenius

   6.PeaZip

   7.WinZip

   8.WinRAR


วิธีการใช้งานอย่างละเอียด

winrar.jpg

วิธีบีบอัดไฟล์

1. เริ่มต้นให้เราทำการเปิดโปรแกรมขึ้นมา จากนั้นเลือกไปที่ ‘Add’ ที่อยู่บริเวณมุมบนด้านซ้ายมือของหน้าต่างโปรแกรมwinrar1

 

2. จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง ‘Archive name and parameters’ ขึ้นมา ซึ่งจะเป็นการตั้งค่าก่อนที่จะทำการบีบอัดไฟล์ โดยมีรายละเอียดหลักๆ ดังนี้

  • Archive name: ชื่อไฟล์ที่เราต้องการจะบันทึก
  • Archive format: ประเภทของไฟล์ที่เราต้องการบันทึก
  • Compression method: วิธีการบีบอัดไฟล์ 
  • Dictionary size: ขนาดของไฟล์สูงสุด
  • Split to volumes, size: กรณีเราต้องการแบ่งไฟล์ออกเป็นไฟล์ย่อย
  • Set password… : ตั้งค่าการเข้ารหัสของไฟล์ (กรณีที่เราต้องการความปลอดภัยหรือความเป็นส่วนตัว)
 

winrar2

เมื่อเราตั้งค่ารูปแบบไฟล์, ขนาด ฯลฯ ตามที่เราต้องการแล้ว ให้เลือกไปที่ ‘Files’ ซึ่งอยู่ที่แถบเมนูหลักด้านบน >> จะเป็นในส่วนของไฟล์ที่เราต้องการจะบีบอัดลงไป >> คลิก ‘Append…’ เพื่อเลือกไฟล์ที่ต้องการwinrar3

เมื่อได้ไฟล์ที่เราต้องการบีบอัดเรียบร้อยแล้ว >> คลิก OK เพียงเท่านี้ก็จะเป็นการบีบอัดไฟล์ที่เราต้องการแล้ว

อีกวิธีหนึ่งในการบีบอัดไฟล์ก็คือ การคลิกขวาที่โฟลเดอร์ หรือ ไฟล์ ที่เราต้องการบีบอัด จากนั้นเลือก ‘Add to Archive’ >> ก็จะปรากฏหน้าต่าง Archive name and parameters’ >> สามารถทำตามขั้นตอนก่อนหน้าได้เลย

วิธี Extract Files (แตกไฟล์)

ในการแตกไฟล์ที่ถูกบีบอัดนั้นสามารถทำได้ง่าย ๆ ซึ่งวิธีการนั้นก็จะมี 2 แบบหลัก ๆ เช่นเดียวกับขั้นตอนในการบีบอัดไฟล์ โดยสามารถทำได้ผ่านโปรแกรม หรือจะคลิกขวาแล้วเลือกแตกไฟล์ได้เลย ในส่วนของขั้นตอนนั้นจะมีดังนี้winrar4

วิธีการแตกไฟล์ผ่านโปรแกรม 

1. เริ่มต้นให้เราเปิดโปรแกรมขึ้นมา >> ในหน้าต่างของโปรแกรมจะมีรายละเอียดของไฟล์ต่าง ๆ อยู่ ให้เราเลือกไฟล์ .RAR หรือ .ZIP หรืออื่น ๆ ที่เราต้องการแตกไฟล์ จากนั้นให้เลือกที่ ‘Extract to’ ซึ่งอยู่ในแถบเมนูหลักด้านบน

winrar5

จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง ‘Extraction path and options’ ขึ้นมา >> ให้เราเลือกพื้นที่ที่ต้องการจะแตกไฟล์ซึ่งอยู่ทางด้านขวามือ >> เมื่อเลือกได้แล้วให้กด OK >> จากนั้นโปรแกรมจะทำการแตกไฟล์แล้วไฟล์ก็จะไปอยู่ในพื้นที่ที่เราเลือก

winrar6

วิธีแตกไฟล์อีกวิธีหนึ่งคือการคลิกขวาที่ไฟล์ที่เราต้องการแตก โดยมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

คลิกขวาที่ไฟล์บีบอัด จากนั้นเลือก (ได้ตามต้องการ) 

  • Extract Files… : จะเป็นการเข้าสู่หน้าต่าง ‘Extraction path and options’ ซึ่งเราสามารถเลือกพื้นที่ได้ตามต้องการ
  • Extract Here: จะเป็นการแตกไฟล์ทันที ซึ่งไฟล์ที่ได้จะอยู่ในโฟลเดอร์หรือพื้นที่เดียวกับไฟล์ที่ถูกบีบอัด
  • Extract to Desktop\ : จะเป็นการแตกไฟล์โดยไฟล์ที่ได้จะอยู่ในหน้า Desktop ของเรา
winrar7

จากนั้นโปรแกรมจะทำการแตกไฟล์ที่ถูกบีบอัด โดยความเร็วในการแตกไฟล์นั้นจะขึ้นอยู่กับขนาดของไฟล์ หากไฟล์มีขนาดใหญ่ก็จะแตกไฟล์ได้ช้า หากไฟล์มีขนาดเล็กการแตกไฟล์ก็จะสามารถทำได้รวดเร็ว และเมื่อทำการแตกไฟล์แล้วเราก็จะสามารถเข้าถึงและใช้งานไฟล์นั้น ๆ ได้ทันที


   ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำบทความนี้

1.รู้จักความเป็นมาของประวัติเทคโนโลยี บีบอัดข้อมูล ที่ไม่เคยรู้จัก

2.ได้รู้วิธีการบีบอัดไฟล์ และแตกไฟล์แบบละเอียด

3.ช่วยให้ส่งไฟล์จากไฟล์ที่มีขนาดใหญ่เหลือขนาดเล็ก ให้ส่งได้สะดวกรวดเร็ว


อ้างอิง

https://hmong.in.th/wiki/Video_data_compression

http://oho.ipst.ac.th/bookroom/snet1/network/multimediea.html

https://notebookspec.com/web/552175-how-to-use-winrar

https://it-guides.com/freeware/utility-freeware/free-compress-program

You have no rights to post comments